All Category
ไม่มีสินค้า
สระว่ายน้ำจะต้องเติมคลอรีนทุกวัน เนื่องจากฝุ่นละอองอันประกอบด้วยแบคทีเรีย และเชื้อตะไคร่น้ำมากมายซึ่งอาจ
เกิดเชื้อฟักตัวในสระ ทำให้น้ำขุ่นมัวได้ ตลอดจนฝุ่นละอองของโลหะและมีเศษใบไม้แห้งขนาดเล็กๆ อันจะทำให้สีขึ้น คลอรีน
จะทำหน้าที่ฟอกจางสี เพื่อให้ได้น้ำที่ใสสะอาด
การเติมคลอรีน จะต้องทำในเวลาหัวค่ำ เนื่องจากในเวลากลางวันน้ำมีอุณหภูมิสูง ทำให้คลอรีนระเหยตัวไว HI-LITE
POOL (คลอรีน 90%) ใส่ทุกๆ คืน ในอัตราส่วน 300 กรัม ต่อน้ำ 100 คิว จะได้ค่าคลอรีนประมาณ 1.00 - 1.5 ppm. เมื่อวัดใน
ตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น แนะนำให้รักษาค่าคลอรีนไว้ไม่ให้ต่ำกว่า 1.0 ppm. เมื่อเวลา 10.00 น. เช้าของทุกๆ วัน ในกรณีค่าคลอรีนมี
ไม่ถึงหรือมากเกินไปให้ปรับจำนวนการใส่คลอรีนมากน้อยตามความเหมาะสม
การเติมน้ำยาควบคุมตะไคร่น้ำจะทำในเวลาเช้า เพราะไม่มีอันตรายใดๆ สามารถเล่นน้ำได้ทันที การเติมน้ำยาควบคุม
ตะไคร่น้ำ ให้ผสมน้ำยา 1 ส่วน ต่อน้ำ 9 ส่วนเสมอ การใช้เคมีภัณฑ์สำหรับสระว่ายน้ำมีหลายชนิดดังนี้
SWIMTRINE (ให้ใช้ทุกอาทิตย์ๆละครั้ง)
น้ำยาควบคุมตะไคร่น้ำสีเขียว แนะนำให้ใช้เป็นประจำทุกๆ สัปดาห์อัตราการใช้ 2 ออนซ์ ต่อน้ำในสระ 5,000 แกลลอน
BLACK ALGAETRINE แนะนำให้ใช้กรณีเพื่อขจัดปัญหาตะไคร่น้ำที่เกาะตามตะเข็บกระเบื้องเรียกว่า ตะไคร่น้ำดำ
ที่มีสีเขียวคล้ำเกือบดำ อัตราการใช้ครั้งแรก 6 ออนซ์ ต่อน้ำในสระ 5,000 แกลลอน และครั้งต่อๆ ไป ใช้อัตรา 3 ออนซ์ ต่อน้ำใน
สระ 5,000 แกลลอน ทุกๆ 5 วัน ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง จนกว่าตะไคร่น้ำจะถูกขจัดหมด โดยการใช้แปรงช่วยขัดเมื่อตะไคร่น้ำดำ
หมดไป ให้กลับมาใช้ SWIMTRINE ตามเดิม
POOLTRINE (ให้ใช้ทุกอาทิตย์ๆละครั้ง)
น้ำยาป้องกันและแก้ปัญหาน้ำเขียว แนะนำให้ใช้เมื่อน้ำขุ่นเขียวหรือมีสีเกิดขึ้น แต่มี pH อยู่ระหว่าง 7.2 – 7.6 เท่านั้น (หากมี pH
สูงกว่าหรือต่ำกว่าให้ปรับด้วย HCL หรือ Na2Co3 ให้ได้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวก่อนใช้น้ำยานี้) น้ำยานี้สามารถช่วยให้น้ำใสเร็วและ
สามารถฆ่าตะไคร่น้ำได้ในขณะเดียวกันอัตราการใช้ 20 ออนซ์ ต่อน้ำ 10,000 แกลลอน ให้เดินปั๊มน้ำ 24 ชั่วโมง จนกว่าน้ำจะใส
ล้างเครื่องกรองทุกครั้งเมื่อเกจ์วัดความดันขึ้นถึง 15-20 PSI
STAINTRINE น้ำยาแก้และป้องกันปัญหาน้ำเขียว การป้องกันน้ำเขียวเมื่อจะเติมน้ำใหม่ให้เติมน้ำยานี้ โดยเติมลงไป
ในถังเก็บน้ำล้นแล้วจึงเติมน้ำใหม่ได้ ในกรณีน้ำเขียวอยู่แล้วให้เติมน้ำยานี้ลงไปในสระว่ายน้ำและเดินปั๊มน้ำ 24 ชั่วโมง จนกว่า
น้ำจะใส แล้วจึงเริ่มเติมน้ำ ถ้าน้ำเขียวแล้วให้ใช้ลักษณะเดียวกันและเดินปั๊มเครื่องจนกว่าน้ำจะใส น้ำยาตัวนี้จะช่วยให้น้ำใสเร็ว
ขึ้น อัตราส่วน 20 ออนซ์ ต่อน้ำ 10,000 แกลลอน
CLEARTRINE แนะนำให้ใช้แก้ปัญหาน้ำขุ่นมัว ขุ่นขาว เนื่องจากฝุ่นละอองและอินทรีย์สารอื่น โดยเฉพาะให้ใช้
ร่วมกับ เครื่องกรองทราย ในกรณีน้ำขุ่นมัวมากๆ ให้ใช้อัตรา 4 ออนซ์ ต่อน้ำใน
สระ 5,000 แกลลอน เดินปั๊มน้ำ 24 ชั่วโมง จนกว่าน้ำจะใส ในกรณีใช้เพื่อป้องกันน้ำขุ่น อัตราการใช้ 2 ออนซ์ ต่อ
น้ำในสระ 5,000 แกลลอน ทุกๆ 1-2 อาทิตย์
pH ใช้ในการวัดคำนวณไอโดรอิออน (H+) ที่มีอยู่ในสารละลาย โดยใช้วัดระหว่าง 0-14 คือ pH ต่ำกว่า 7 เป็นกรด pH =
7 เป็นกลาง และ pH มากกว่า 7 เป็นด่าง
มาตรฐานสำหรับสระว่ายน้ำทั่วไปควรจะมี pH = 7.5 หรืออยู่ระหว่าง 7.2 -7.6 ถ้า pH ต่ำมาก (เป็นกรด) จะเป็นผลให้
คลอรีนสลายตัวอย่างรวดเร็วและเกิดการกร่อนมากขึ้น ทั้งยังทำให้แสบตาเมื่อเล่นน้ำ ถ้า pH สูงเกินไป ประสิทธิภาพของคลอรีน
ลดลง จะเกิดตะกอน น้ำจะขุ่น และแสบตาเช่นกัน
(เมื่อ pH ตํ่ากว่า 7.2) | จะใช้โซดาแอซ (Na2CO3) |
---|---|
(เมื่อ pH สูงกว่า 7.6) | จะใช้กรดเกลือ (HCl) หรือ (NaHSO4) |
ข้อมูลเพื่อการคำนวณ
1 ลูกบาศก์เมตร (m3) เท่ากับ 264 แกลลอน (US. GAl.) |
---|
1 แกลลอน (US. GAl) เท่ากับ 3.785 ลิตร ( 4 ควอร์ท) |
1 ควอร์ท (Qt) เท่ากับ 960 ซีซี (32 ออนซ์) |
1 ออนซ์ (Oz) เท่ากับ 30 ซีซี (CC) |
ระบบฆ่าเชื้อโรค ใช้คลอรีนเป็นตัวฆ่าเชื้อโรค และทำให้เกิดขบวนการที่เรียกว่า Oxidation
ส่วนสารเคมีที่ใช้ควบคุมคุณภาพน้ำ คือ โซเดียมไบซัลเฟต (Sodium Bisulfate) ในกรณีที่น้ำมีสภาพเป็นด่าง หรือใช้ Soda Ash
(Sodium Bicarbonate) ในกรณีที่น้ำมีสภาพเป็นกรด นอกจากนี้อาจจะใช้ยากันตะไคร่เสริม ซึ่งเป็นเคมีที่ป้องกันการเกิดตะไคร่น้ำ
จะทำให้การควบคุมคุณภาพน้ำง่ายยิ่งขึ้น
ตามมาตรฐานของสระว่ายน้ำที่ใช้คลอรีนเป็นสารเคมีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคนั้น ควรจะมีปริมาณคลอรีน
ในน้ำ 1.0 ถึง 1.5 ส่วนในล้านส่วน (PPM) และมี pH อยู่ระหว่าง 7.2 -7.6 ควรจะตรวจสอบหาค่าคลอรีนและค่า pH ทุกวัน
โดยใช้ชุดทดสอบน้ำ (Test Kit) ก่อนที่จะเติมคลอรีนจะต้องตรวจสอบหาค่า pH ของน้ำในสระเสียก่อน ถ้าค่า pH ไม่เป็นไป
ตามมาตรฐานต้องปรับค่า pH ให้ได้ 7.2-7.6 ถ้าน้ำมีสภาพเป็นกรดหรือเป็นด่างเล็กน้อย คือต่ำกว่า 7.2 จะต้องเติมโซดาแอช
(เมื่อละลายน้ำแล้วมีสภาพเป็นด่าง) เพื่อเพิ่ม pH ให้เกินกว่า 7.2 แต่ถ้าสภาพน้ำเป็นด่าง คือ เกินกว่า 7.6 จะต้องเติม
กรดโซเดียมไบซัลเฟต หรือที่เรียกว่ากรดแห้ง (เมื่อละลายน้ำแล้วมีสภาพเป็นกรด) เพื่อกรดค่าความเป็นด่างของน้ำให้อยู่ใน
มาตรฐาน ถ้าค่า pH ของน้ำไม่ได้มาตรฐานจะทำให้คลอรีนที่เติมลงไป มีประสิทธิภาพด้อยลง หลังจากปรับค่า pH ได้แล้ว วัดค่า
ของคลอรีนในน้ำว่ามีเพียงพอตามมาตรฐานหรือไม่ คือ ระหว่าง 1.0 – 1.5 PPM ถ้ามีไม่เพียงพอให้เติมคลอรีนลงไปจะมากหรือ
น้อยขึ้นอยู่กับจำนวนคลอรีนที่เหลือความเข้มข้นของคลอรีนที่เติม และปริมาตรของน้ำในสระน้ำนั้นโดยทั่วไปประมาณ 2 กรัม
ต่อน้ำ 1 คิวบิกเมตร (ในกรณีที่เป็นคลอรีน 90%) การเติมคลอรีนนี้ควรเติมทุกวันในช่วงเย็นหรือกลางคืน เพราะในช่วงกลางวัน
แสงแดดจะทำให้คลอรีนเจือจางได้เร็วกว่าปกติ ในกรณีฝนตกหนักหลังฝนตกควรจะเช็คค่าคลอรีนในน้ำ ถ้าต่ำกว่ามาตรฐานให้
เติมคลอรีนลงไปอีก ถ้าไม่เติมจะทำให้น้ำเกิดตะไคร่ได้
ชุดทดสอบน้ำสำหรับสระว่ายน้ำเป็นเครื่องมือสำหรับวัดค่า pH และคลอรีนในน้ำสระว่ายน้ำ ซึ่งมีวิธีใช้
ดังนี้
1. คว่ำหลอดทดลองน้ำ และนำลงไปในน้ำให้ลึกไม่น้อยกว่า 48 cm. จากผิวน้ำ แล้วหงายหลอดทดลองขึ้น
น้ำจะเข้าไปในหลอดจนเต็ม แล้วนำขึ้นมาเหนือน้ำ
2. ค่อยๆ เทน้ำในหลอดให้เหลือน้ำอยู่ในหลอดเท่าขีดที่กำหนดบนหลอด
3. หยดน้ำยา OTO ลงในหลอดเช็คคลอรีนทีมีตัวอักษร CI 4 หยด หยดน้ำยา Phenol-Red ลงในหลอด
เช็คความเป็นกรดเป็นด่างที่มีตัวอักษร pH 4 หยด
4. ปิดฝาให้ฝาสีเหลืองปิดหลอดเช็คคลอรีน ฝาสีแดงปิดหลอดเช็ค pH
5. เขย่าหลอดทดลอง เทียบระดับสีในหลอดกับแถบสีด้านข้างแล้วอ่านค่า
การทำความสะอาดสระ หมายถึง การกระทำใดๆ เพื่อให้น้ำในสระสะอาดโดยการดูดตะกอน, ขัดสระ
รวมถึงการปรับสภาพน้ำ ตรวจเช็ค pH และ Cl
1. การทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่อยู่ที่พื้นสระว่ายน้ำ โดยใช้ชุดดูดตะกอน ให้ปฏิบัติ ดังนี้
1.1 เปิดฝาท่อดูดตะกอน
1.2 เปิดวาล์วดูดตะกอน
1.3 ปิดวาล์วถังพักน้ำสำหรับสระว่ายน้ำในระบบน้ำล้น ถ้าเป็นระบบอื่นให้ปิดวาล์วที่ดูดจากพื้นสระ
1.4 ประกอบชุดดูดตะกอน (หัวดูด, สายดูด, ด้ามดูด) นำหัวดูดตะกอนลงในสระวางบนพื้นสระ
กรอกน้ำให้เต็มสายดูดตะกอน สวมปลายข้างหนึ่งเข้าไปในตำแหน่งท่อดูดตะกอน
1.5 ดูดตะกอนจนกระทั่งสายดูดไม่สามารถดูดถึงบริเวณอื่น ให้เปลี่ยนตำแหน่งของที่สวมสายดูด โดยถอดสาย
ดูดออกจากตำแหน่งที่เสียบไว้เดิมก่อน และไปเปิดฝาดูดตะกอนอีกฝาที่จะใช้ และปิดฝาเดิมที่ไม่ได้ใช้
1.6 เมื่อดูดตะกอนเสร็จแล้ว ให้ปิดวาล์วถังพักน้ำหรือวาล์วดูดจากพื้นสระ และปิดวาล์วดูดตะกอน
1.7 เดินเครื่องกรองตามปกติ
2. การทำความสะอาดด้วยชุดทำความสะอาด
2.1 แปรงไนล่อน ใช้สำหรับถูกระเบื้องที่สกปรก หรือมีตะไคร่เกาะอยู่
2.2 แปรงถูตะไคร่ ใช้สำหรับถูตามแนวร่องกระเบื้องที่มีตะไคร่จับ โดยก่อนที่จะทำการขัดตะไคร่นั้น
ควรจะใส่คลอรีนให้มีความเข้มข้นประมาณ 3-5 PPM ทิ้งไว้ 1 วัน แล้วจึงจะใช้แปรงถูตะไคร่ที่มีขน
แปรงเป็น Stainless Steel ขัดออก
ในกรณีที่เกิดปัญหาน้ำในสระมีสีเขียวหรือขุ่นขึ้นมา ควรจะตรวจสอบค่า pH และปรับสภาพน้ำให้ได้ค่า pH
ตามกำหนด แล้วใส่คลอรีนลงไปให้มากขึ้น หรือประมาณ 3-5 PPM เดินเครื่องกรองจะได้ทำงานได้เต็มที่ และช่วยให้น้ำใส
เร็วขึ้น เมื่อน้ำใสอาจจะใส่น้ำยากันตะไคร่ เพื่อช่วยไม่ให้ตะไคร่เกิดขึ้นแต่ต้องปรับ pH ให้อยู่ระหว่าง 7.2 – 7.6 และห้ามนำน้ำยากันตะไคร่ไปผสมกับน้ำยาเคมีอื่นๆ ก่อนใส่ลงในสระน้ำ
อุปกรณ์ต่างๆ ของสระน้ำทั้งที่ติดตั้งภายในสระ และรวมถึงอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในห้องเครื่องกรอง
ล้วนแต่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการดูแลและรักษาให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน พร้อมทั้งคงประสิทธิภาพอุปกรณ์ต่างๆ
ที่ควรแก่การเอาใจใส่ดูแลประกอบด้วยรายการหลักๆ ดังนี้
ควรดูแลไม่ให้น้ำหยดหรือรั่ว ให้รีบแก้ไขอย่าทิ้งไว้นาน ซึ่งจะมีผลทำให้เสียหายมากขึ้น ถ้าเป็นเครื่องกรองที่ทำ
ด้วย Stainless Steel ให้ทำความสะอาด และเช็ดให้แห้ง ถ้ามีคราบคล้ายสนิมเกิดขึ้นให้ใช้สก๊อตไบร์ทชุบน้ำขัดจนสนิมหมด
ถ้าเริ่มเป็นสนิมแล้วไม่ขัดออกก็จะกลายเป็นรูเล็กๆ ทำให้เครื่องกรองทะลุได้ ถ้าเป็นเครื่องกรองที่ทำด้วยไฟเบอร์กลาส หรือ
วัสดุใดที่ไม่ใช่โลหะให้ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง รวมทั้งใส่น้ำมันหล่อลื่นบริเวณน็อตสำหรับยึดสายรัด
ควรตรวจเช็ดปั๊มอย่าให้มีจุดรั่ว หรือน้ำหยดทางดูดของปั๊ม เพราะเมื่อมอเตอร์ทำงานปั๊มจะดูดลมเข้าไป
ทำให้ปั๊มดูดน้ำไม่ขึ้น ปั๊มมอเตอร์จะร้อนทำให้ Mechanical Seal ชำรุดและข้อต่อหน้าปั๊มหลังปั๊มรั่ว ถ้าเป็นปั๊มที่
ไม่ใช่โลหะ อาจทำให้อุปกรณ์ภายในร้อนจนละลายหรือตัวปั๊มเองชำรุดเสียหายได้ ถ้าการทำงานของปั๊มมอเตอร์
ใช้นาฬิกาเป็นตัวควบคุมเวลาการทำงาน ให้หมั่นตรวจเช็คโดยทดลองปิดปั๊มไว้สัก 30 นาที แล้วเดินปั๊มใหม่ แล้วให้ สังเกตดูว่าดูดน้ำขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่ขึ้นต้องหาสาเหตุและรีบแก้ไข อีกสิ่งหนึ่งที่จะลืมไม่ได้ก็คือ ตรวจดูว่าสายไฟที่ต่อเข้ากับมอเตอร์นั้นขันแน่นหรือไม่ ถ้าไม่แน่นอาจจะทำให้แผงไฟที่ตัวมอเตอร์เองเกิดการไหม้ได้
ตรวจเช็คน็อตที่ยึดต่อสายไฟให้แน่น
- ตั้งนาฬิกาที่ควบคุมการทำงานของปั๊มให้ตรงกับเวลาจริง
- อย่าให้มีน้ำขังในห้องเครื่อง เพราะทำให้ภายในห้องเครื่องมีความชื้นสูง ซึ่งจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้า
เกิดชำรุดเสียหายได้
อุปกรณ์ทำความสะอาดที่เป็นพลาสติกห้ามทิ้งตากแดด เพราะจะทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นมีอายุการใช้งานสั้นลง
อันเนื่องมาจากแสงอุลตร้าไวโอเลต เช่น สายดูดตะกอน, แปรงไนล่อน, แปรงถูตะไคร่ ส่วนน้ำยาเช็ดคลอรีน OTO และ น้ำยาเช็ดความเป็นกรด-ด่าง ของชุดทดลองนั้น ห้ามถูกแสงแดด และมีอายุการใช้งานประมาณ 6 เดือน คือควรจะเปลี่ยน น้ำยาทุกๆ 5 เดือน เพื่อความแน่นอน
เมื่อใช้งานแล้วจะต้องเช็ดให้แห้ง หรือถ้ามีคราบสนิมให้ใช้สก๊อตไบร์ทชุบน้ำขัดตามแนวเส้นผิว
และเช็ดให้แห้ง ส่วนบันไดจะต้องขันยึดให้แน่น ส่วนขั้นบันไดก็เช่นเดียวกันต้องยึดให้แน่นกับราวบันได
ควรดูแลอย่าให้น้ำขัง และมีแสงสว่างเพียงพอ และหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ รวมถึงมีการระบาย
อากาศที่ดี โดยอาจจะติดพัดลมดูดอากาศเพื่อช่วยในการถ่ายเทอากาศได้สะดวก
ปัญหา | สาเหตุ | การแก้ไข |
---|---|---|
1. น้ำในสระว่ายน้ำสีขาวขุ่น | - มีค่า pH หรืออัลคาไลนิตีสู้ง - ปริมาณคลอรีนที่เติมลงไปไม่เพียงพอ - ระบบการกรองไม่ดี (เครื่องกรองตัน) | ปรับค่า pH อัลคาไลนิตี้ด้วยการเติมแห้ง |
ทำการเติมคลอรีนลงในสระว่ายน้ำ ให้มี | ||
ความเข้มข้นของคลอรีน 10 ppm และ | ||
ห้ามลงเล่นนำ้ จนกระทั่ง น้ำ ใส และจำนวน | ||
คลอรีนลดลงเหลือ 1.5 ppm | ||
-ทำการล้างเครื่องกรอง | ||
2. น้ำเป็นสีเขียวและขุ่น | - ปริมาณคลอรีนในน้ำ มีน้อยทำให้ตะไคร่เจริญเติบโตได้ - pH ไม่อยู่ในมาตรฐาน ทำให้ประสิทธิภาพของคลอรีนน้อยลง | - ทำการช็อคโดยเติมคลอรีนลงไปให้มีอยู่ใน |
น้ำ10 ppm ถ้าเครื่องกรองเป็นเครื่องทราย | ||
ให้ใส่สารส้มเพื่อช่วยให้น้ำ ใสเร็วขึ้น | ||
- ปรับค่า pH | ||
3. น้ำเป็นสีแดงสนิม | - น้ำ ที่เติมลงไปในสระมีธาตุเหล็กมาก | - การเติมน้ำ ลงในสระให้เติมทีละน้อยๆ |
- ติดต้ัง เครื่องกรองน้ำ สำหรับเก็บสนิมเหล็ก | ||
4. น้ำเป็นฟองซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นนื่องจากการใช้ยากันตะไคร่ | - ปริมาณคลอรีนในน้ำ ไม่เพียงพอ | เพิ่มปริมาณคลอรีนให้มากขึ้น |
5. น้ำขุ่นและมีตะกอนสีขาวจำนวนมากอยู่ที่พื้น สระในกรณีที่เครื่องกรองเป็นเครื่องกรองที่ใช้ผงกรองเป็นตัวกรอง | - แผ่นกรองฉีกขาดหรือแกนกรองชำรุด - ยึดแผ่นกรองไม่แน่น | - เปลี่ยนแผ่นกรอง |
- ยึดแผ่นกรองให้แน่น | ||
6. เล่นน้ำแล้วแสบตา | - น้ำเป็นกรดหรือเป็นด่างมาก | ปรับค่า pH ให้อยู่ระหว่าง 7.2-7.6 |
7. ระคายเคืองผิวหนัง | - มีสารประกอบของคลอรีนคือคลอรามีนสูง | - ใส่คลอรีนให้มีความเข้มข้น 10 ppm |
และห้ามลงเล่นจนกว่าความเข้มข้น | ||
ของคลอรีนเหลือ 1.5 ppm. | ||
8. ผมเป็นสีแดง หรือผมที่เคลือบสีไว้กลายเป็นสีเขียว | - น้ำเป็นกรดมาก | - ปรับค่า pH ให้ได้ 7.2 - 7.6 |
9. ใช้สารเคมีเปลืองและปรับสภาพน้ำได้ยาก | - จำนวนสารละลาย TotalDissolved Solidในน้ำมากกว่า 2000 ppm. | - เปลี่ยนน้ำในสระพร้อมทั้งทำความสะอาด |
สระ หรือถ่ายน้ำทิ้งออกส่วนหนึ่งแล้ว | ||
เติมน้ำใหม่ เพื่อลดจำนวนสารละลายในน้ำ | ||
10. เครื่องกรองไม่ทำงานตามเวลาที่ตั้งไว้ | ‐ ไฟดับ ‐ นาฬิกาควบคุมการทำงานเสีย | ‐ ตั้งเวลานาฬิกาควบคุมการทำงานให้ ตามเวลาที่ตั้งไว้ |
‐ นาฬิกาควบคุมการทำงานเสีย ให้ตั้งนาฬิกาให้ตรงกับเวลาจริง | ||
‐ เปลี่ยนนาฬิกา | ||
11. ปั๊มน้ำไม่ขึ้น | ‐ ข้อต่อปั๊มรั่ว ‐ ฝาสเตรนเนอร์ปิดไม่แน่น ‐ ฝาสเตรนเนอร์มีสิ่งสกปรกติดอยู่มาก ‐ Foot Valve หรือ Check Valve รั่ว,หรือมีสิ่งสกปรกค้างอยู่ทำให้ปิดไม่สนิท | ‐ เปลี่ยนข้อต่อปั๊ม |
‐ ปิดฝาสเตรนเนอร์ให้แน่น | ||
‐ ทำความสะอาดสเตนเนอร์ | ||
‐ ทำความสะอาด หรือเปลี่ยนใหม่ | ||
12. ดูดตะกอนไม่ขึ้น หรือดูดไม่แรง | ‐ ท่อดูดตะกอนรั่ว ‐ สเตนเนอร์สกปรก ‐ กรอกน้ำไม่เต็มสายดูด ‐ ไม่ได้ปิดวาล์วดูดน้ำจากถัง | ‐ ซ่อมท่อดูดตะกอน ‐ ทำความสะอาดสเตรนเนอร์ ‐ กรอกน้ำให้เต็มสายดูด ‐ ปิดวาล์ว |